q
stringlengths 6
1.79k
| a
stringlengths 1
5.61k
|
---|---|
ふくろう ใช้ต่างกันกับ フクロウ หรือเปล่าครับ ทำไมเขียนได้สองแบบ | ไม่ต่างกัน อย่างหลังอาจจะใช้ในฐานะชื่อเฉพาะ หรือแค่เพียงเน้นให้เด่นก็เป็นได้ |
รัฐมนตรีกับรัฐมนตรีว่าการ ต่างกันอย่างไรครับ (หน้าที่) | รัฐมนตรี (Minister) หมายถึง รัฐมนตรีว่าการ (Minister) คือ เจ้ากระทรวง และรัฐมนตรีช่วยว่าการ (Deputy Minister) คือ รองเจ้ากระทรวง เมื่อรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีว่าการเป็นอันเดียวกัน จึงบอกไม่ได้ว่าต่างกันเช่นไร แต่ถ้าต้องการถามว่า รัฐมนตรีว่าการ กับรัฐมนตรีช่วยว่าการ มีหน้าที่ต่างกันอย่างไร ตอบได้ว่า พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 20 วรรคสอง ว่า "ในกรณีที่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมอบหมาย" ดังนั้น โดยทั่วไปแล้ว จึงย่อมต่างกันไปตามแต่ละกระทรวง สุดแต่ว่ารัฐมนตรีช่วยว่าการได้รับมอบหมายอะไรมาจากรัฐมนตรีว่าการบ้าง เป็นรายละเอียดปลีกย่อย ควรค้นดูเพิ่มเติมในคำสั่งมอบหมายหน้าที่ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการ ซึ่งอาจมีอยู่ในเว็บไซต์ของแต่ละกระทรวง |
องค์กรที่ต่อท้ายด้วยคำว่าในพระบรมราชูปถัมภ์หมายถึงอะไร | หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงสนับสนุนองค์กรนั้น อาจเป็นในทางเศรษฐกิจ เช่น ทรงออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้ หรือในทางอื่น ๆ |
อาเบะในภาษาญี่ปุ่นแปลว่าอะไร | หากเป็นชื่อคน อาจแปลได้หลายอย่างขึ้นอยู่กับคันจิที่ใช้เขียน ซึ่งเขียนได้หลายอย่าง จึงตอบแน่ชัดไม่ได้ หากเป็นศัพท์ทั่วไป อะเบะไม่มีความหมาย |
โดยปกติแล้วใช้อักษรจีนตัวเต็ม หรืออักษรจีนตัวย่อในการเขียนภาษาจีนฮกเกี้ยน | ภาษาจีนกลางเท่านั้นที่มีการประกาศให้ใช้ตัวย่ออย่างเป็นทางการ ส่วนภาษาจีนอื่น ๆ ในแผ่นดินจีนหรือชาวจีนโพ้นทะเลก็ยังใช้ตัวดั้งเดิม ดังนั้นภาษาจีนฮกเกี้ยนก็ใช้ตัวเต็ม ข้อพึงระวัง อักษรดั้งเดิมอาจไม่ได้มีเพียงรูปแบบเดียว |
ภาษาไทยทำไมคนรุ่นหลังพูดกันผิดมากเพราะอะไร | เพราะภาษายังมีคนใช้อยู่ จึงมีพลวัตรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เป็นเช่นนี้ทุกภาษามิใช่แต่ภาษาไทย พูดไม่เหมือนคนโบราณแต่ก่อนมาจึงว่าเขาผิด แต่ถ้าผิดกันทั้งเมืองแล้วก็เป็นเพียงมาตรฐานใหม่เท่านั้น |
ภาษาไทยจัดอยู่ในตระกูลภาษาใด | ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต |
สละ มีลักษณนามว่าอะไร | สละ มีลักษณนามคือผล |
"สามหมื่นสี่พันสี่ร้อยห้าสิบ" เขียนว่า "three hundred forty thousand, four hundred and fifty" ถูกไหม | ไม่ถูก โดย three hundred forty thousand, four hundred and fifty จะเท่ากับ 340,000 + 450 = 340,450 ถ้า 34,450 จะเป็น thirty-four thousand four hundred and fifty |
ขอทราบ โวล์ต และ วัตต์ ไฟฟ้า ที่ใช้กันในประเทศเซเนกัล | คำตอบคือ 230 Volt, 50 Hz ส่วนวัตต์แตกต่างกันไปตามเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ |
HCN เป็นโมเลกุลมีขั้วหรือไม่ | มีขั้วเพราะมันสามารถแตกตัวเป็นไอออนในน้ำได้ CN− |
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดและอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดประมาณ 58 ล้านกิโลเมตรโลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สามประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร ดาวพลูโตอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุดประมาณ 5900 ล้านกิโลเมตรจงหาว่าดาวพุธและดาวพลูโตอยู่ห่างจากโลกประมาณกี่กิโลเมตร เขียนคำตอบในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ | สมมติว่าดาวพุธ โลก และดาวพลูโต อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันและฝั่งเดียวกัน (มิฉะนั้นคำตอบจะเปลี่ยนไป)
ดาวพุธอยู่ห่างจากโลกประมาณ 150 − 58 = 92 ล้านกิโลเมตร = 9.2×10^7 กิโลเมตร หรือ 9.2×10^10 เมตร
ดาวพลูโตอยู่ห่างจากโลกประมาณ 5900 − 150 = 5750 ล้านกิโลเมตร = 5.750×10^9 กิโลเมตร หรือ 5.750×10^12 เมตร |
อิเลคโตรแมกเนติกคือพลังยกตัวแบบเดียวกับที่ยูเอฟโอใช้ใช่หรือไม่ | อิเลคโตรแมกเนติกแปลว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่เกี่ยวอะไรกับยูเอฟโอ อากาศยานจะลอยได้ ก็ต้องมีแรงที่เท่ากับหรือมากกว่าแรงที่เกิดจากความโน้มถ่วง ในทิศทางตรงกันข้าม |
แมกเนติกที่แกนโลกก่อให้เกิดแรงโน้มถว่งใช่หรือไม่ | ไม่ใช่ ความโน้มถ่วงเกิดจากมวล ยิ่งมีมวลมาก ก็ยิ่งมีความโน้มถ่วงมาก จากกฎของนิวตัน |
เลขโดด0-9นำมาสร้างจำนวนเต็ม4หลักและหารด้วย5ลงตัวได้กี่จำนวน | จำนวนเต็มสี่หลัก ก็คือ 0000–9999 มี 10000 จำนวน
จำนวนที่หารด้วย 5 ลงตัว จึงมีทั้งหมด ⌊ 10000 ÷ 5 ⌋ = 2000 จำนวน ได้แก่ 0, 5, 10, 15, ..., 9995
บางบริบทอาจถือว่าถ้าเลข 0 นำหน้า มันจะไม่ใช่เลขสี่หลัก ดังนั้นบริบทนี้จะเหลือเพียง 1000–9999 มี 9000 จำนวน
จำนวนที่หารด้วย 5 ลงตัว จึงมีทั้งหมด ⌊ 9000 ÷ 5 ⌋ = 1800 จำนวน ได้แก่ 1000, 1005, 1010, 1015, ..., 9995 |
โครงสร้างของพืชที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งแบบทะเลทรายคืออะไร | 1. ลำต้นอวบน้ำ
2. มีชั้น Cork เกิดขึ้น
3. มีใบลดรูปเป็นหนาม
4. มีปากใบจมลึก |
มนุษย์อยู่ในไฟลัมอะไร | สัตว์มีแกนสันหลัง |
บิดาแห่งคณิตศาสตร์ คือใคร | คณิตศาสตร์มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistoric mathematics) จึงไม่ปรากฏหลักฐานที่ชี้ชัดได้ในปัจจุบัน ว่าใครคือบิดาแห่งคณิตศาสตร์ หรือ ไม่อาจระบุได้ว่าใครเป็นบิดาแห่งคณิตศาสตร์ นั่นเอง (อย่างไรก็ตาม ในบางทีก็อาจมีการยกย่องนักคณิตศาสตร์ในประวัติศาสตร์บางท่าน โดยประมาณเอาว่าท่านผู้นั้นเป็นบิดาแห่งคณิตศาสตร์ ก็เป็นได้) |
ส่วนใดของมนุษย์คือสารสนเทศที่ซับซ้อนที่สุด | สมองของมนุษย์ |
สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องเป็นสารประกอบไฮโดรคาบอนหรือไม่? | ไม่จำเป็น ตามนิยามของสิ่งมีชีวิต
- นิยามอย่างแคบ: ประกอบด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์ของเซลล์
- นิยามอย่างกว้าง: ต้องการอาหาร สืบพันธุ์ มีการเจริญเติบโต และตอบสนองต่อสิ่งเร้า ฯลฯ
ไม่มีข้อใดระบุว่าต้องเกิดจากสารประกอบไฮโดรคาร์บอน |
กลีบดอกไม้มาจากไหน | ส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงมาจากใบ ตัวอย่างเช่น เฟื่องฟ้า |
ฮอร์โมนพืชต่างจากสารควบคุมการเจริญเติบโตอย่างไร | ฮอร์โมนพืชเป็นสารที่พืชผลิตได้เอง ส่วนสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช เป็นสารสังเคราะห์ |
กลูตาเมต คือ เกลือของกรดกลูตาไธโอนใช่หรือไม่ | ไม่ใช่ เกลือของกลูตาไธโอน
Metal Cation + กลูตาเมต คือ เกลือของกรดกลูตามิก |
ยุคก่อนประวัติศาสตร์คือ? | ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่ไม่มีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ โดยมนุษย์ (ในบางครั้งหมายถึง ช่วงเวลาก่อนมีอารยธรรมมนุษย์) แต่ละสำนักให้นิยามไม่ตรงกัน เช่น เริ่มตั้งแต่ กำเนิดโลก หรือเริ่มตั้งแต่ ช่วงเวลาที่มีสิ่งมีชีวิต ที่มีโฮโมเซเปียนส์ หรือบรรพบุรุษของมนุษย์กำเนิดขึ้น |
สส.หญิงคนแรกของไทยคือใคร | คุณหญิงอรพินท์ ไชยกาล (พ.ศ. 2447-พ.ศ. 2539) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นสตรีที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของประเทศไทย |
เส้นเมริเดียนมีกี่เส้น | จริง ๆ แล้วนิยามของเส้นเมอริเดียนคือเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปใต้ ดังนั้นอาจตอบได้ว่ามีเส้นเมอริเดียนนับไม่ถ้วน แต่ถ้าที่สอนกันโดยทั่วไปจะเทียบจากหน่วยองศาที่เป็นจำนวนเต็ม จึงมักตอบว่ามี 360 เส้น นอกจากนี้ เส้น180องศาตะวันออกและตะวันตกยังอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ตำราบางเล่มจึงนับรวมกันเป็นเส้นเดียว เหลือ 359 เส้นได้ |
มะม่วง ทำไม ไม่เรียกตามสีว่ามะเหลือง | หมากม่วงเป็นคำไทยโบราณสมัยสุโขทัย ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่มาของคำนี้มีสมมติฐานสามอย่าง
1. เลียนมาจากภาษามลายูว่า manga (มลายู manga ---> ทมิฬ mangai ---> โปรตุเกส manga ---> อังกฤษ mango) ซึ่งต้องออกเสียงว่า หมากมางกา แต่ออกเสียงยาก คนไทยจึงออกเสียงเป็น หมากม่วง
2. คนโบราณเรียกมะม่วง เพราะใบอ่อนของมะม่วงป่ามีสีม่วง ดังปรากฏใน กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก ของเจ้าฟ้ากุ้ง
3. มะม่วงมีถิ่นกำเนิดจากอินเดีย มะม่วงที่มาจากอินเดียต้นแรก ๆ ให้ผลสีม่วง คนไทยจึงเรียกว่า หมากม่วง |
วันภาษาไทยแห่งชาติจัดขึ้นปีแรก พ.ศ. อะไร | จากบทความดังกล่าว ระบุว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 13 กรกฎาคม 2542 เห็นชอบให้วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ -- รัฐบาลได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันสำคัญ ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 |
ถนนเส้นใดสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่4 | ถนนเจริญกรุง บำรุงเมือง เพื่องนคร และ ถนนสีลม |
ใครเป็นผู้แต่งนิทานเวตาล | ต้นฉบับเป็นภาษาสันสกฤต ประพันธ์โดย ศิวทาส |
การแต่งจดหมายจากคณะทูตไทยและนิราศลอนดอนมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร | ในบทความนิราศลอนดอน เขียนถึง คุณค่าทางวรรณศิลป์ และ คุณค่าทางสังคม ส่วนใหญ่น่าจะเป็นข้อดีของนิราศดังกล่าว
ส่วนข้อเสีย หรือปัญหา นั้น คือ เนื้อหาบางส่วน อาจเป็นไปตามมุมมอง ความคิดเห็น อารมณ์ หรือทัศนคติ ของผู้เขียน นอกเหนือไปจากข้อเท็จจริงแต่เพียงอย่างเดียว ผู้อ่านจึงต้องแยกแยะให้ได้ว่าส่วนใดเป็นข้อมูลหรือข้อเท็จจริง ส่วนใดเป็นอารมณ์หรือความคิดเห็น ฯลฯ (อันนี้ตีความจากข้อความที่ว่า "ได้มีการใช้ภาษาที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึก สอดแทรกไว้ในเนื้อความบางตอน" และ "มีการเปรียบเทียบถึงสิ่งที่เคยและไม่เคยพบเห็น รวมทั้งมีการใช้ภาษาแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา") |
ฟาสซิสต์กับคอมมิวนิสต์แตกต่างอย่างไร | ฟาสซิสต์เป็นฝ่ายขวาจัด เน้นชาตินิยมสุดโต่ง แสนยนิยม และเรื่องชนชาติปกครอง (master race) ส่วนในเรื่องเศรษฐกิจ ฟาสซิสต์จะออกแนวทุนนิยม คือ เอื้อกลุ่มทุนขนาดใหญ่ และอนุญาตให้เอกชนเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ ส่วนคอมมิวนิสต์เป็นฝ่ายซ้ายจัด เน้นเรื่องสังคมปราศจากชนชั้น การวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลาง นำทรัพย์สินของทุกคนมารวมกันแล้วรัฐบาลแจกจ่ายให้พลเมือง สำหรับคอมมิวนิสต์ในความเป็นจริงนั้นเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียว พยายามแผ่ขยายลัทธิดังกล่าวไปนอกประเทศ |
จะวิเคราะห์อย่างไรว่าข้อความไหนเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์จุลภาคและแบบมหภาค | เศรษฐศาสตร์จุลภาคนั้นจะทำศึกษาเฉพาะหน่วยหนึ่งในสังคมเช่นบุคคล ครัวเรือน และบริษัท ส่วนในเศรษฐศาสตร์มหภาค จะศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจส่วนรวม โดยเฉพาะเศรษฐกิจระดับชาติ |
การถ่ายโอนความร้อนจะเกิดขึ้นเมื่อใด? | ความร้อนในสองสถานที่ต่างกัน โดยที่ที่ความร้อนสูงจะถ่ายเทไปยังที่ที่ความร้อนต่ำ จนทั้งสองแห่งมีความร้อนเท่ากัน |
ใครเป็นคนตั้งทฤษฎีเซลล์ | Matthias Schleiden (ค้นพบ/สร้างทฤษฎี) Theodor Schwann (สร้างทฤษฎี) |
วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มีอะไรที่เหมือนกันและต่างกัน | * สองสาขานี้ต่างกันที่วิธีการแสวงหาความรู้ สำหรับคณิตศาสตร์ การแสวงหาความรู้เกิดขึ้นได้เองจากภายใน หรือถ้าจะใช้ศัพท์เชิงปรัชญาหน่อยก็เรียกได้ว่าเป็นการแสวงหาความรู้แบบ A-priori นั่นคือเราไม่จำเป็นต้องรับรู้โลกภายนอกเลย ความรู้ทางคณิตศาสตร์ก็สามารถกำเนิดขึ้นมาได้ หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่า วิธีการทางคณิตศาสตร์เป็นวิธีเชิงนิรนัย (deduction) วิธีเชิงนิรนัยนี้ก็คือ การแสวงหาความรู้ใหม่จากความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว กับกฎเกณฑ์บางอย่าง เช่น สมมติเรามีความรู้เดิมอยู่ว่า ถ้าวันไหนฝนตกแล้วเราจะไม่ไปทำงาน และ วันนี้ฝนตก แล้วเราก็มีกฎเกณฑ์ที่เรียกว่า โมดัสโพเน็น อยู่ เราจะสามารถสรุปได้เป็นความรู้ใหม่ทันทีว่า วันนี้เราจะไม่ไปทำงาน ซึ่งถึงแม้ตรงนี้จะดูเป็นเรื่องของตรรกศาสตร์ แต่วิธีการหาความรู้ทางคณิตศาสตร์ทั้งหมดก็เป็นประมาณนี้ วิธีเชิงนิรนัยเป็นวิธีการแสวงหาความรู้มาตั้งแต่สมัยของอริสโตเติล จนช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ก็มีผู้ขยายความต่อไปว่าคณิตศาสตร์นั้นเป็นวิธีการแสวงหาความรู้ที่เรียกว่า axiomatic method โดยความรู้เดิมในที่นี้จะมีศัพท์ที่ใช้เรียกคือคำว่าสัจพจน์ และกฎเกณฑ์ในที่นี้มีศัพท์ที่ใช้เรียกคือคำว่ากฎการอนุมาน สำนัก axiomatic เชื่อว่าคณิตศาสตร์ก็ไม่ได้เป็นอะไรไปมากกว่าแค่สองส่วนนี้ และถ้ามีครบสองส่วนนี้ แม้แต่เครื่องจักร ก็สามารถนำมาใช้ในการแสวงหาความรู้ทางคณิตศาสตร์ได้
* ส่วนวิทยาศาสตร์นั้นเป็นเรื่องของการแสวงหาความรู้จากโลกภายนอก ถ้าจะใช้ศัพท์เชิงปรัชญาอีกก็เรียกได้ว่าเป็นการแสวงหาความรู้แบบ A-posteriori ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นไม่ได้เลยหากปราศจากการรับรู้โลกภายนอก ซึ่งตรงข้ามกับคณิตศาสตร์ และอาจกล่าวได้ว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีเชิงอุปนัย (induction) วิธีเชิงอุปนัยนี้คือการแสวงหาความรู้ใหม่จากข้อมูลต่างๆ ภายนอกที่เรารับรู้ได้ เช่น เราเห็นว่าทุกๆ เช้า ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก เราก็สรุปเป็นความรู้ใหม่ได้ว่า ทุกๆ วัน ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออก ซึ่งความรู้ที่ได้จากวิธีเชิงอุปนัยนี้เป็นความรู้ที่ไม่แน่นอน และสามารถเปลี่ยนแปลงเมื่อมีข้อมูลใหม่ๆ เข้ามา นักปรัชญาอย่าง เบอร์แทรนด์ รัสเซิลล์ ได้ยกตัวอย่างที่น่าสนใจ (และค่อนข้างจะโหดร้าย) ไว้ว่า สมมติเราเป็นไก่ และทุกๆ เช้า มีเจ้าของฟาร์มเดินเข้ามานำอาหารให้ เราก็สรุปด้วยวิธีเชิงอุปนัยเป็นความรู้ได้ว่า เจ้าของฟาร์มมีเมตตาและจะนำอาหารมาเลี้ยงเราทุกวัน แต่ปรากฏว่าเช้าวันหนึ่งเจ้าของฟาร์มเดินเข้ามาเอาเราไปเชือด ... สรุปได้ว่า ความรู้ของเราที่ได้จากวิธีเชิงอุปนัยนั้นไม่แน่นอน เพราะเราไม่สามารถที่จะรับรู้ข้อมูลได้ครบถ้วน
* ทีนี้ ก็มีหลายครั้งที่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อาจมาจากวิธีการแสวงหาความรู้แบบ A-priori นั่นคือมีการตั้งสมมติฐานขึ้นมาก่อน และนำกฎการอนุมานต่างๆ มาใช้ช่วยในการพิสูจน์จนเกิดเป็นทฤษฎีหรือความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขึ้นมา เช่น ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่ไอน์สไตน์คิดขึ้นนั้น อาจกล่าวได้ว่ามาจากวิธีเชิงนิรนัยมากกว่า คือไอน์สไตน์เริ่มจากการตั้งคำถามกับตัวเองว่าถ้าผู้สังเกตเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วต่างกันแล้วจะเห็นอัตราเร็วแสงเท่ากันหรือไม่ จากนั้นก็ตั้งสมมติฐานว่า อัตราเร็วของแสงมีค่าเท่ากันไม่ว่าผู้สังเกตจะเคลื่อนที่อย่างไร และก็พิสูจน์ได้หลายทฤษฎีบทที่สำคัญ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในทางวิทยาศาสตร์แล้ว เป็นสิ่งที่ต้องย้ำอยู่เสมอว่า เพียงแค่สมมติฐาน และทฤษฎีบทต่างๆ ที่มาจากสมมติฐานนั้น ไม่สามารถตัดสินได้ว่านี่เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง เว้นแต่ว่าสมมติฐานและทฤษฎีบทต่างๆ เหล่านั้นจะได้รับการยืนยันอย่างแน่นหนาจากข้อมูลที่มีเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลอง หรือจากการสังเกต สิ่งที่ทำให้ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษได้รับการยอมรับ และสิ่งที่ทำให้ไอน์สไตน์ได้รับการยกย่อง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความสวยงามในตัวทฤษฎีเอง แต่ส่วนที่สำคัญมากกว่านั้นอย่างยิ่งยวดก็คือ ทฤษฎีนี้ใช้อธิบายข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นในเอกภพได้เป็นอย่างดี (ทฤษฎีสัมพัทธภาพเป็นเรื่องของต้นศตวรรษที่ 20 สำหรับในต้นศตวรรษที่ 21 ก็มีทฤษฎีสตริง ที่มีเนื้อหาเชิงฟิสิกส์ที่สวยงามเช่นกัน แต่ก็ยังรอข้อมูลยืนยันอยู่ ถ้ามิติพิเศษในทฤษฎีสตริงใหญ่พอ การค้นพบมิติพิเศษนั้นอาจเป็นไปได้ในเร็ววัน และจะทำให้ทฤษฎีสตริงมีข้อมูลสนับสนุน)
* ในทางตรงกันข้าม ความรู้ทางคณิตศาสตร์ก็อาจมีที่มาจากวิธีเชิงอุปนัยได้เช่นกัน โดยนักคณิตศาสตร์อาจจะมองเห็นรูปแบบและความสัมพันธ์จากข้อมูลที่มีอยู่ แล้วตั้งสมมติฐานขึ้นมาเกี่ยวกับข้อมูลนั้น เช่น ข้อความคาดการณ์ของโกลด์บาช ที่บอกว่า ทุก ๆ จำนวนคู่ที่มากกว่า 2 สามารถเขียนอยู่ในรูปผลบวกของจำนวนเฉพาะสองจำนวนได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในทางคณิตศาสตร์แล้ว เป็นสิ่งที่ต้องย้ำอยู่เสมอเช่นกันว่า ไม่ว่าจะมีข้อมูลสนับสนุนข้อความคาดการณ์นี้มากเพียงใด เราก็ไม่สามารถตัดสินได้ว่านี่เป็นความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่แท้จริง จนกว่าเราจะมีบทพิสูจน์ที่เป็นไปตามวิธีเชิงนิรนัย เช่น ถึงแม้ว่าเราไล่จำนวนคู่ไปถึงหลักเจ็ดหมื่นล้านและพบว่าจำนวนคู่ทุกตัวนี้สามารถเขียนให้อยู่ในรูปผลบวกของจำนวนเฉพาะสองจำนวนได้หมด นี่ก็ไม่ถือว่าข้อความคาดการณ์ของโกลด์บาชเป็นจริง ถึงแม้จะมีข้อมูลสนับสนุนมากมายถึงหลักหมื่นล้านก็ตาม
* ทีนี้ก็เป็นที่ถกเถียงกันในสาขาญาณวิทยาช่วงศตวรรษที่ 17 และ 18 ว่าวิธีการแสวงหาความรู้แบบใดที่จะทำให้เราเข้าถึงความจริงได้มากกว่า นักปรัชญาบางคนสนับสนุนการใช้เหตุผลจากภายใน ขณะที่นักปรัชญาอีกฝั่งหนึ่งสนับสนุนการใช้ประสบการณ์จากภายนอก พวกที่สนับสนุนการใช้เหตุผลจากภายในจะถูกเรียกว่าสำนักเหตุผลนิยม ซึ่งนำโดย เรอเน เดส์การตส์ และ กอทท์ฟรีด ไลบ์นิซ ส่วนกลุ่มที่สนับสนุนการใช้ประสบการณ์จากภายนอกจะถูกเรียกว่าสำนักประจักษ์นิยม ซึ่งได้แก่ จอห์น ล็อก และ เดวิด ฮูม หลังจากนั้นก็มีนักปรัชญาเช่น อิมมานูเอิล คานท์ ที่พยายามประนีประนอมสองแนวคิดนี้เข้าด้วยกัน
* เท่าที่อธิบายมา จะเห็นว่าคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นสาขาวิชาที่มีวิธีการแสวงหาความรู้ที่ต่างกันมากพอดูใช่มั้ย แต่จริงๆ แล้ว ในสังคม หรือในชีวิตประจำวัน เราก็เห็นชัดว่าคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นสองสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกันเหลือเกิน คนที่เก่งคณิตศาสตร์ก็มีแนวโน้มที่จะเก่งวิทยาศาสตร์ และคนที่เก่งวิทยาศาสตร์ (โดยเฉพาะฟิสิกส์) ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่จะอ่อนคณิตศาสตร์ ซึ่งตรงนี้ก็อาจจะก่อให้เกิดความสับสน และเกิดคำถามขึ้นมาว่าคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์นั้นต่างกันอย่างไร อย่างเช่นคำถามนี้เป็นต้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าคณิตศาสตร์ในบางสาขานั้นได้ถูกพัฒนาขึ้นมาให้สอดคล้องกับกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติได้เป็นอย่างมาก และก็อาจจะไม่มีภาษาใดที่จะอธิบายโลกภายนอกได้ชัดเจนเท่าภาษาคณิตศาสตร์อีกแล้ว |
ความเผ็ดของพริกอยู่ตรงส่วนไหน | อยู่ที่ส่วนประกอบเคมีที่อยู่ภายในที่ชื่อ capsaicin (8-methyl-N-vanillyl-6-nonenamide) ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและจะเกิดอาการเผาไหม้บริเวณปากและสารตัวนี้เองที่นำมาใช้ทำสเปรย์พริก |
ธาตุอาร์กอนเกิดขึ้นได้ยังไง | อาร์กอนเกิดจากการแยกอากาศ ออกเป็น ไนโตรเจน ออกซิเจน และส่วนที่เหลือ เป็น คาร์บอนไดออกไซด์ และ อาร์กอน(มีสีเหลือง) |
ของเหลวมีธาตุใดบ้าง | ทุกธาตุสามารถเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ แข็ง-เหลว-ก๊าซ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และ ความดัน แต่สารประกอบบางอย่างมันระเหิดได้ (เปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นแก๊สโดยไม่เป็นของเหลว) |
ประชากรกลุ่มหนึ่งมีความสูงเฉลี่ย 100 cm. ประชากรอีกกลุ่มหนึ่งมีความสูงเฉลี่ย 150 cm. สมมติว่าความสูงที่แตกต่างกันของประชากรสองกลุ่มนี้ขึ้นอย่กับยีน 3 ยีน ที่ไม่ ขึ้นแก่กันและไม่มีลักษณะเด่นลักษณะด้อย โดยผ้ที่มียีน AABBCC สูงเท่ากับ 150 cm. แต่ผู้ที่มียีน aabbcc สูงเท่ากับ 100 cm. และยีน A ,B และ C จะเพิ่มความสูงได้ 5,3และ 2 cm.ตามลำดับ ผ้ที่มีความสูงเท่ากับ 110 cm ควรจะมีลักษณะยีนเป็นเช่นใด ช่วยแสดงวิธีการทำด้วย | ผลของยีนทั้งสามเป็น additive effect ดังนั้นเอาจำนวน allele รวมกันจนได้ความสูงที่ต้องการ ก็ตอบได้เลย
Aa Bb Cc = 5+3+2 + minimum Ht (100) =110 or AA bb cc = 5+5+0+0 + 100 = 110 or aa BB CC = 3+3+2+2 +100 =110 |
หญิงที่มีเลือดกรุ๊ปเอ แต่งงานกับ ชายที่มีเลือดกรุ๊ปเอบี ถ้ามีลูกลูกจะมีโอกาสมีเลือดกรุ๊ปใดได้บ้าง ในสัดส่วนเท่าใด แสดงวิธีการหาให้ดูหน่อย | หญิงมีเลือกกรุ๊ปเอ จีโนไทป์ อาจจะเป็น AO หรือ AA ก็ได้ ดังนั้น สามารถแยกได้ 2 กรณี คือ
กรณีที่ 1 หญิงมีจีโนไทป์แบบ AO แต่งงานกับชายที่มีเลือดกรุ๊ป AB ซึ่งลูกจะมีจีโนไทป์ที่เป็นไปได้ คือ AA AB AO และ BO ดังนั้น ลูกจะสามารถมีกรุ๊ปเลือดที่เป็นไปได้ คือ A B และ AB
กรณีที่ 2 หญิงมีจีโนไทป์แบบ AA แต่งงานกับชายที่มีเลือดกรุ๊ป AB ซึ่งลูกจะมีจีโนไทป์ที่เป็นไปได้ คือ AA และ AB ดังนั้น ลูกจะสามารถมีกรุ๊ปเลือดที่เป็นไปได้ คือ A และ AB |
พฤติกรรมศาสตร์ คืออะไร | เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกแขนงวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ พฤติกรรมและกลวิธีภายในสิ่งชีวิตในธรรมชาติ ศาสตร์นี้เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และศึกษาพฤติกรรมมนุษย์และสัตว์อย่างเป็นระบบโดยการศึกษาและทดลองในธรรมชาติและในสภาพควบคุมในห้องปฏิบัติการ รวมถึงการตีความอย่างรอบคอบ |
เหตุใดพระยาดำรงราชานุภาพจึงได้รับยกย่องให้เป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย? | 1. ทรงพระนิพนธ์หนังสือจำนวนมากในเรื่องประวัติศาสตร์และโบราณคดี และทรงแสดงให้เห็นถึงการค้นคว้าอย่างกว้างขวาง ด้วยสำนึกทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างจากสำนึกการเขียนพระราชพงศาวดาร
2. พระนิพนธ์คำนำของ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ซึ่งทรงแสดงให้เห็นว่าประวัติศาสตร์ไทยนั้นสืบเนื่องเป็นลำดับสายเดียวโดยไม่ขาดตอนจากสมัยสุโขทัย มาสมัยอยุธยา สู่สมัยรัตนโกสินทร์ อันเป็นโครงสร้างของการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสามสมัยที่นักประวัติศาสตร์ต่อๆ มาได้สมาทาน
3. พระมติและพระนิพนธ์มักจะได้รับการอ้างอิง นับถือ ตลอดจนเป็นแบบอย่างให้แก่นักประวัติศาสตร์สมัยต่อๆ มา เรียกชื่ออย่างลำลองว่าประวัติศาสตร์แบบสกุลดำรงฯ ซึ่งเป็นสกุลประวัติศาสตร์ที่ทรงอิทธิพลที่สุดตราบปัจจุบัน |
ทศพิธราชธรรมมีอะไรบ้าง | ทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญมาโดยสม่ำเสมอ ได้แก่ ทาน ศีล บริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความอดทน และความเที่ยงธรรม ราชธรรม ๑๐ ประการนี้เรียกว่า "ทศพิธราชธรรม" |
เมืองหลวงของประเทศสาธารณรัฐเช็กคือเมืองอะไร | เมืองปราก |
แสงธรรมหมายถึงอะไร | คือ แสงแห่งธรรมะ หมายความว่า ความสว่างที่ได้รับจากธรรมะ |
จงเขียนคำในมาตรา แม่กด ที่ใชพยัญชนะ จ,ช,ชร,ซ,ฎ,ฏ,ฐ,ฑ,ฒ,ติ,ตร,ทร,ธ,เป็นตัวสะกด เขียนคำมาอย่างน้อยพยัญชนะละ 1 คำ | 1. จ กิจ พจน์ ฉกาจ เท็จ โลจน์ โรจน์
2. ช ราช สมโภช กช กรวิชญ์
3. ชร เพชร วัชร
4. ซ ก๊าซ
5. ฎ กฎ กนิฎฐ์
6. ฏ กบฏ ปรากฏ รกชัฏ นาฏ
7. ฐ รัฐ อูฐ ประเสริฐ ณัฐ
8. ฑ ครุฑ
9. ฒ อัฒจันทร์ วัฒนา วุฒิ พัฒน์
10. ต ติ ยุติ
11. ตร ภาพยนตร์ เนตร ฉัตร พัตร
12. ทร ภัทร
13. ธ อาวุธ มัธยม มัธยัสถ์
แม่กดมีตัวสะกดดังนี้ด ต ถ ท ธ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ จ ช ซ ศ ส ษ |
หลักเกณฑ์การขึ้นย่อหน้าใหม่และการเว้นวรรคตอนพิจารณาจากอะไร | การขึ้นย่อหน้าจะเป็นการเริ่มเนื้อหาใหม่ การเว้นวรรคเป็นการแบ่งประโยคไม่ให้ยาวจนเกินไป |
อยากจะทราบ คำศัพท์ภาษาฝรั่งเศส คำว่า เครื่องเงิน เขียนและอ่านอย่างไร | เขียนว่า argenterie อ่านว่า อาร์ค-ฌอง-เทอ-ครี โดยใช้เสียงจากโคนลิ้น |
ห้องสมุดออนไลน์ หมายถึงอะไร | หมายถึง ห้องสมุดที่มีข้อมูลต่างๆที่อินเทอร์เน็จ ผู้ใช้สามารถหาข้อมูลจากห้องสมุดเหล่านี้ได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น |
ภาษากับภาษาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันอย่างไร | ภาษาเป็นวิธีการสื่อสารอย่างหนึ่ง หรือจะบอกว่าเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อสารก็ได้ ส่วนภาษาศาสตร์ เป็นการศึกษาลักษณะต่างๆ ของภาษา โดยการแยกแยะรายละเอียด องค์ประกอบในภาษา และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ในภาษา
ภาษาศาสตร์ คือศาสตร์ว่าด้วยภาษา ทำให้เราเข้าใจหลักการของภาษา และองค์ประกอบต่างๆ ได้ชัดเจน แต่ไม่ได้ทำให้เราเรียนรู้ภาษานั้นๆ อย่างคล่องแคล่ว |
อยากรู้ความแตกต่างระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษสัก 5 ข้อใครรู้บอกหน่อยคะ | 1. ลักษณะประโยค เป็น ประธาน-กริยา-กรรม เหมือนกัน ขณะที่หลายภาษาเช่น ภาษาญี่ปุ่น จะเป็น ประธาน-กรรม-กริยา
2. อักษรที่ใช้ ไทย ใช้อักษรไทย ขณะที่อังกฤษใช้อักษรละติน
3. การเขียนประโยคภาษาไทยเขียนติดกันและเว้นวรรคระหว่างประโยค ขณะที่ภาษาอังกฤษเขียนเว้นวรรคทุกคำและเว้นประโยคด้วยเครื่องหมาย .
4. คำกริยาในภาษาอังกฤษมีการผันรูปในลักษณะอดีต หรือเติม -ed ต่อท้าย แต่ของไทยไม่มีการผันรูปโดยจะเพิ่มคำขยายมาแทน ทำ → เคยทำ/ทำแล้ว
5. การออกเสียง ของไทยมีรูปวรรณยุกต์ที่แสดงเสียงวรรณยุกต์โดยตรง แต่ในภาษาอังกฤษการออกเสียงขึ้นลงไม่มีการกำหนดในประโยค แต่จะมีการเปลี่ยนเสียงขึ้นลงตามรูปแบบประโยค
เพิ่มเติม
- ภาษาไทยมีอักษร สระมากกว่าภาษาอังกฤษทำให้สามารถออกเสียงได้มากว่า
- ภาษาไทยมีความคล้องจองกัน ทั้งในแบบสระ และพยัญชนะ
- ภาษาไทยมีร้อยกรอง และร้อยแก้ว แต่ภาษาอังกฤษและอื่นไม่มีร้องกรอง
- ภาษาไทยมีลำดับชั้นของภาษา เช่น ราชาศัพท์
- คำขยายของภาษาไทยมักจอยู่ข้างหลัง แต่ภาษาอังกฤษอยู่ข้างหน้า เช่น red shirt เสื้อแดง |
ทำไมเราถึงเรียกพระมหากษัตริย์ของเราว่า ในหลวง | คำนี้เพี้ยนจากคำว่า "นายหลวง" เจ้านายผู้เป็นใหญ่ |
บริเวณที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ประกอบด้วยกุฏิ หอฉัน ศาลาการเปรียญ เรียกว่าอะไร | สังฆาวาส |
ละครเวทีคืออะไร | ความหมายโดยทั่วไปคือ การแสดงละครสดต่อหน้าผู้ชมบนเวที โดยส่วนมากแล้วละครเวทีหมายถึงการแสดงละครสากล |
ชื่อวงศ์ของต้นราชพฤกษ์คืออะไร | Fabaceae; Leguminosiae; หรือ Ceasalpineaceae ขึ้นอยู่ที่ว่าจะใช้เอกสารไหนเป็นแหล่งอ้างอิง ถ้าแบบของกรมป่าไม้ใช้ Leguminosiae |
คราบสีเหลืองที่เกิดขึ้นในเครื่องสุขภัณฑ์ห้องน้ำเกิดจากอะไร | สาเหตุมีหลายอย่าง เช่นเชื้อรา แบคทีเรีย สนิม ขี้ไคล หรือคราบของเสีย |
ทำไมสัตว์ที่ธรรมชาติสร้างให้กินเนื้อจึงไม่ติดพยาธิ | สัตว์กินเนื้อติดพยาธิได้เหมือนกัน ถ้าไปกินสัตว์ที่มีไข่พยาธิ ตัวอย่างง่ายที่สุดก็คือมนุษย์ ไปกินเนื้อกินหมูที่มีไข่พยาธิ ก็ติดพยาธิ |
ทำไมต้นไผ่จึงเป็นปล้องๆ กลวงๆ และมีตาไผ่ | ปล้องกลวงของไผ่เกิดจากการสลายตัวของเนื้อเยื่อที่อยู่ตรงกลาง (พิธ หรือ pith) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพืชวงศ์หญ้า ส่วนตันของปล้องไผ่คือบริเวณข้อถ้าเทียบกับพืชชนิดอื่น ฉะนั้นเมื่อเป็นข้อ จึงมีส่วนของตาที่จะแตกเป็นกิ่งไผ่อยู่ตรงนั้นได้ |
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผสมกับอ๊อกซีเจนจะเป็นสีอะไร | ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่มีสี ก๊าซออกซิเจนไม่มีสี ผสมกันไม่เกิดปฏิกิริยา ก็ไม่มีสี |
คลอรีนน้ำความเข้มข้น 10% น้ำหนัก 1 กิโลกรัม จะมีปริมาตรกี่ลิตรครับ ช่วยตอบทีเพราะมีคนถามมาแล้วหาคำตอบไม่ได้ซักที่ | หา MSDS จะมีค่าความหนาแน่น (ความถ่วงจำเพาะ) ณ อุณหภูมิที่กำหนด แล้วคำนวณย้อนกลับไปจะได้คำตอบเอง (ประมาณ 1 ลิตร เพราะน้ำบริสุทธิ์ 1 กก. = ประมาณ 1 ลิตร คลอรีน 10% ความเข้มข้นไม่มากนัก ความหนาแน่นก็ไม่เปลี่ยนเท่าไหร่) |
โลกเคยเป็นดวงอาทิตย์มาก่อนใช่หรือไม่ | ไม่ใช่ โลกไม่เคยเป็นดวงอาทิตย์มาก่อน |
ลักษณะวิสัยของพืชแบ่งออกเป็น 4ประเภทคือไม้เถา / ไม้ล้มลุก / ไม้พุ่ม / ไม้ต้น แล้วอยากทราบว่า ปาล์มจัดอยู่ประเภทไหน | ตามที่กำหนดให้มา คงอาจพอจัดว่าเป็นไม้ต้น |
ทำไมถึงต้องตัดดาวพลูโตออกจากดาวเคราะห์ 8 ดวง | อาจสรุปได้ว่า ดาวพลูโตมีลักษณะเป็น "ดาวเคราะห์แคระ" (หรือบางแหล่งข้อมูลก็อาจมองว่าเป็น "ดาวเคราะห์น้อย") มากกว่าที่จะเป็น "ดาวเคราะห์"
นี่คือนิยมของดาวเคราะห์แคระ
- อยู่ในวงโคจรรอบดาวฤกษ์ แต่ตัวมันเองไม่ใช่ดาวฤกษ์
- มีมวลพอเพียงที่จะมีแรงโน้มถ่วงของตัวเอง เพื่อเอาชนะแรง rigid body forces ทำให้รูปทรงมีสมดุลไฮโดรสแตติก (เกือบเป็นทรงกลมสมบูรณ์)
- ไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบวงโคจรของมัน
- ไม่ใช่ดวงจันทร์บริวาร
และนี่คือนิยามของดาวเคราะห์ 1. เป็นดาวที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ซึ่งในที่นี้หมายถึงดวงอาทิตย์ แต่ไม่ใช่ดาวฤกษ์ และไม่ใช่ดวงจันทร์บริวาร 2. มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต หรือรูปร่างใกล้เคียงกับทรงกลม 3. มีวงโคจรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง 4. มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 500 ไมล์ (804.63 กิโลเมตร) ซึ่งดาวพลูโตไม่ผ่านข้อ 3 |
ระบบสุริยะ อยู่ในกาแลกซี่ใด | กาแลกซี่ทางช้างเผือก (Milky Way Galaxy) |
สอบถามเรื่องรอกผ่อนแรง กรณีวางแนวรอกจากแนวดิ่ง มาเป็นแนวนอนเช่นการลากของ จะสามารถผ่อนแรงลากเหมือนในแนวดิ่งหรือเปล่า | ผ่อนแรงได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดีงาน (แรงxระยะทาง) ยังเท่าเดิม |
ต้นสาละที่มีผู้รู้จักและเผยแพร่กันอยู่ ก็มีสาละอินเดีย และสาละลังกา อยากทราบว่า ต้นสาละในพุทธประวัติเป็นต้นไม้ชนิดไหน สาละอินเดีย หรือสาละลังกา | สาละลังกา |
จากนิยาย ภาพยนตร์ เรื่อง รหัสลับตาวินชี ของ DAN BROWN อยากทราบว่า หลายๆอย่างในเรื่องมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ เช่น สาขานิกายโอปุสเดอี เดอะไพรเออรี่ออฟไซออน | - พวกนั้นเป็นทฤษฎีสมคบคิด โยงไปมา ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีจริงหรือเปล่า แต่ตัวรหัสอันเป็นความลับแห่งชีวิต ↑ ↑ ↓ ↓ ← → ← → B A Start นั้นมีจริงแน่นอน ยืนยันแล้วว่าเพิ่มพลังชีวิตได้สิบเท่าจากปกติ In Heaven, everything is fine
- คำว่า "โอปุส เดอี" ถูกใช้ในพระศาสนจักรคาทอลิก โดยหมายถึงรูปแบบของกลุ่มหรือองค์กรที่เป็นคณะส่วนพระองค์ (Personal Prelature) หมายความว่าองค์กรนั้นอยู่ในการดูแลของพระสันตะปาปาโดยตรง ซึ่งโดยทั่วไปองค์กรของคาทอลิกจะมีหน่วยงานท้องถิ่น (สังฆมณฑล) คอยดูแล ส่วนคำว่าไซออน (Zion) หรือศิโยน เป็นคำที่มีอยู่ในพระคัมภีร์ซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกกรุงเยรูซาเล็ม |
อยากทราบ ข้อดีและข้อเสียของการปกครองส่วนกลาง | การปกครองส่วนกลาง มีข้อดีคือสามารถควบคุมแนวทางการปฏิบัติให้เป็นไปในแบบแผนเดียวกัน สามารถประเมินงบประมาณหรือผลงานจากบนลงล่างหรือจากล่างขึ้นบนได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือดำเนินงานช้าเนื่องจากต้องส่งผ่านเรื่องตามลำดับชั้น งานจะกระจุกอยู่ที่ศูนย์กลาง เมื่อไม่มีศูนย์กลางเรื่องก็ดำเนินต่อไม่ได้ |
ผู้จัดการมรดกสามารถแต่งตั้งขึ้นมาจากทายาทที่มีสิทธิได้หรือไม่ หากแต่งตั้งจากทายาทได้แล้ว ถ้าเขาแบ่งทรัพย์สินให้ตัวเอง (เพราะเป็นทายาทที่มีสิทธิ) จะผิดกฎหมายหรือไม่ | 1. จะตั้งใครเป็นผู้จัดการมรดกก็ได้ (เป็นทายาทโดยธรรม เป็นทายาทโดยพินัยกรรม เป็นทนาย เป็นคนที่นับถือและไว้ใจได้) แต่ต้องไม่เป็นบุคคลต้องห้าม (ไม่วิกลจริตหรือเสมือนไร้ความสามารถ ฯลฯ) จะตั้งมากกว่าหนึ่งคนก็ได้ เช่น ฝ่ายภรรยา (หรือสามี) หลวงมีผู้จัดการมรดกคนหนึ่ง ผ่ายอนุภรรยา (หรือสามี) มีผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่ง
2. จะแบ่งให้ใครก็ทำได้ แต่หากไม่เป็นไปตามพินัยกรรม (หรือไม่เป็นไปตาม ป.พ.พ.) ก็พึงฟ้องเอาได้ในภายหลัง |
ทำไมรัสเซียถึงมีดินแดนกว้างใหญ่แต่ประชากรน้อย | สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวย |
หลักฐานของทวารวดีในราชบุรีพบที่ใด | เมืองโบราณคูบัว ต.คูบัว อ.เมือง |
แม่น้ำสายใดยาวที่สุดในยุโรป | แม่น้ำวอลกา (รัสเซียตะวันตก) รองลงมาคือ แม่น้ำดานูบ |
การแสดงท้องถิ่นแตกต่างจากการแสดงพื้นบ้านอย่างไร | ท้องถิ่น หมายถึง ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งโดยเฉพาะ ส่วน พื้นบ้าน,พื้นเมือง,พื้นถิ่น หมายถึง เฉพาะถิ่น มักใช้กับวัฒนธรรม ดังนั้นความหมายไม่แตกต่างกันถ้าพูดถึงวัฒนธรรมเหมือนกัน |
อยากทราบว่า ภาษาที่จารึกในพระไตรปิฎกมีทั้งหมดกี่ภาษา อะไรบ้าง | - ฝ่ายเถรวาทใช้ภาษาบาลี ทั้งพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา แต่อักษรที่เขียนแล้วแต่ความนิยมของแต่ละประเทศ (ไทยก็อักษรไทย (ในอดีตก็ใช้อัการขอมเป็นหลัก) ลาวก็อักษรธรรม ลังกาก็อักษรสิงหล เขมรก็อักษรขอม พม่าก็อักษรพม่า ประเทศตะวันตกใช้อักษรโรมัน)
- ฝ่ายหมายานใช้ภาษาสันสกฤตเป็นหลัก แต่มักถูกแปลออกเป็นภาษาท้องถิ่น หลักๆ คือภาษาจีน และภาษาทิเบต (มีบางสูตรเขียนอักษรสิทธัมเป็นภาษาสันสกฤตต้นฉบับกำกับเพิ่มเติมด้วย) |
ส่วนมากแรงงานไทยไปอิสราเอลทำงานเกี่ยวกับอะไร และส่วนใหญ่อยู่ที่ไหน | สอบถามที่ สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ www.overseas.doe.go.th ส่วนใหญ่เป็นแรงงานภาคเกษตร |
อิสราเอลยังรบกันอยู่ไหม | ความขัดแย้งเรื่องศาสนาระหว่างชาวอิสราเอลกับชาวปาเลสไตน์ยังคงมีอยู่เป็นพักๆจนถึงปัจจุบัน |
แม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปเอเชีย คืออะไร | แม่น้ำแยงซี |
ผู้ที่พระราชทานนามใหม่ว่า พระปฐมเจดีย์ คือใคร | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ทำไมเจ้าฟ้าชายวิลเลียมแห่งเวลส์จึงเปลี่ยพระยศเป็นเจ้าฟ้าชายวิลเลียม ดยุคแห่งแคมบริดจ์ | เพราะพระนางเจ้าเอลิซาเบธสถาปนาให้ |
ศาลปกครองของไทยใช้ระบบไหนพิจารณาระหว่างระบบไต่สวน หรือ ระบบพิจารณา | ศาลปกครองของไทยใช้ระบบไต่สวน แต่ไม่มี "ระบบพิจารณา" ในโลก มีแต่
- "ระบบไต่สวน" (inquisitorial system) แบบที่เปาบุ้นจิ้นใช้ คือ ศาลมีบทบาทเชิงรุกในกระบวนพิจารณา โดยทำหน้าที่ไต่สวนเพื่อค้นหาความจริง (fact finding)
- "ระบบกล่าวหา" (accusatorial system) ศาลนั่งอยู่เฉย ๆ ปล่อยให้คู่ความเถียงกันเอง แล้วศาลจะสรุปทีหลังว่าใครเถียงชนะ |
กษัตริย์พระองค์ใดทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา | พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา |
ครัวเรือน มีความหมายเหมือน ครอบครัว หรือไม่ | ใช่ ครัวเรือน มีความหมายเหมือน ครอบครัว |
หทัยพัชญ์ แปลว่าอะไร | - หทัย แปลว่า ใจ
- พัชญ์ ไม่มีความหมาย แต่น่าจะตัดมาจาก สรรพัชญ (สรรเพชญ) แปลว่า ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, ผู้รู้ทั่ว
รวมกันน่าจะแปลว่า ผู้รู้จิตใจโดยทั่ว |
ภาษากวางตุ้ง ที่คนไทยเชื้อสายจีนใช้ แตกต่างจากภาษากวางตุ้งที่เมืองจีนไหม | ไม่แตกต่างกัน |
ความหมายของคำ สัตตมาศ/สัตตมาส ผู้รู้ช่วยให้ความกระจ่างด้วย | สัตต แปลได้สองอย่างคือ เจ็ด หรือ สัตว์
มาศ แปลว่า ทอง
มาส แปลว่า พระจันทร์ หรือ เดือน
สัตตมาศ แปลว่า ทองทั้งเจ็ด
สัตตมาส แปลว่า เดือนเจ็ด |
คำว่า"ทีฆายุกาโหตุ"กับ"ฑีฆายุกาโหตุ"คำไหนถูกต้อง | "ทีฆายุกา" (ท ทหาร) มาจาก "ทีฆ" (ยาว) + อายุก (ผู้มีอายุ), โดย "ทีฆายุกา" เป็นอิตถีลึงค์ ใช้กับหญิง (เช่น ราชินี) |
ทำไมคนเราจึงต้องมีภาษาไว้ใช้สื่อสาร | ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ถ้าไม่มีภาษา ก็ไม่สามารถถ่ายทอดแนวคิดของตนให้ผู้อื่นรับรู้ได้ การสื่อสารก็จะไม่เกิด |
"ຖ້າໃຫ້ເລືອກຈູບລະຫວ່າງ ຜູ້ຊາຍໜ້າຫຼໍ່ແຕ່ປາກເໝັນ ກັບ ຜຸ້ຊາຍໜ້າເລ່ແຕ່ປາກຫອມ ຊິເລືອກຈູບໃຜ ?" รบกวนแปลให้หน่อย | "ถ้าให้เลือกจูบละหว่าง ผู้ซายหน้าหล่อแต่ปากเหม็น กับ ผุ้ซายหน้าเล่แต่ปากหอม ซิเลือกจูบใผ ?" |
อยากทราบว่าชื่อ กชพิณทร์ มีความหมายว่าอย่างไร | กช แปลว่า ดอกบัว ส่วน พิณทร์ ไม่มีคำนี้ แต่คงจะแผลงมาจาก พิณ รวมกับ อินทร์ |
คำว่า"วงศ์" กับ คำว่า "วงษ์" แตกต่างกันอย่างไร หมายถึงอะไร สามารถใช้คำๆ นี้กับประโยคประเภทใดได้บ้าง | "วงษ์" เป็นการเขียนแบบเก่า ก่อนมีพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เมื่อมีแล้ว กำหนดให้เขียน "วงศ์" นี้พูดถึงกรณีทั่วไป ถ้าเป็นวิสามานยนาม (เช่น ชื่อคน ชื่อสถานที่) |
คำว่าเคล็ดขัดยอกต้องพิมพ์ติดกันทั้งหมดหรือต้องเคาะตรงไหนหรือไม่ | เคล็ด ขัดยอก ; เคล็ดเป็นหนึ่งคำ และขัดยอกก็เป็นหนึ่งคำอย่าแยก |
ทำไมวันที่ 10 ธันวาคม รัฐบาลมีมติให้เป็นวันรัฐธรรมนูญ | ที่มีมติเพราะว่าวันที่ 10 ธ.ค. ร.7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย โดยผลของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ |
ทะเบียนวัดขึ้นกับหน่วยงานใด | กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ |
ความสัมพันธ์ระหว่างการวางผังเมืองและการจราจรมีความสัมพันธ์กันอย่างไร | การวางผังเมืองต้องคิดถึงองค์ประกอบของเมืองหลายๆ อย่าง การจราจรก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องคิดถึงในการออกแบบเมือง แต่ก็ต้องระวังไม่ให้เรื่องใดเรื่องหนึ่งมีผลกระทบกับเรื่องอื่นๆ เช่นถ้าผังเมืองนั้นทำให้มีการจราจรที่ดี แต่ทำให้รบกวนการอยู่อาศัยของประชากรในเมือง หรือทำให้เกิดความยุ่งยากในการวางระบบสาธารณูปโภคอื่นๆ ผังเมืองนั้นก็น่าจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการวางผังเมืองใหม่ เพื่อไม่ให้การจราจรไปกระทบกับการดำรงชีวิตรูปแบบอื่นๆในเมืองจนพัฒนากลายเป็นปัญหาของเมือง... (การวางผังเมืองต้องใช้ข้อมูลหลายประเภท และมีจำนวนมาก แม้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็สามารถพบเห็นปัญหาเกิดขึ้นได้ในเมือง) |
รัฐธรรมนูญมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอย่างไร | เป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐ อธิบายการได้มาซึ่งอำนาจรัฐและวิธีการใช้อำนาจรัฐ บอกว่าทุกคนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย รับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และระบุหน้าที่ของประชาชน - ในชีวิตประจำวันเราอาจไม่ได้ใช้รัฐธรรมนูญโดยตรง แต่ที่เรามีชีวิตประจำวันแบบนี้ ในบ้านเมืองแบบนี้ ส่วนหนึ่งก็เพราะรัฐธรรมนูญ - กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับรัฐ ส่วนใหญ่ได้กล่าวถึงไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การเลือกตั้ง การเกณฑ์ทหาร การเสียภาษี (ในชีวิตประจำวัน ทุกครั้งที่ซื้อของเราก็มักต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%) ฯลฯ |
สัตว์ประเภทหนูมีถุงน้ำดีหรือเปล่า | หนูไม่มีถุงน้ำดี |
แล้งซ้ำซากปรากฏการณ์ธรรมชาติหมายถึง? | สามารถแปลตรงตัวหรือตีความตรงตัว จึงน่าจะหมายถึง เกิดปัญหาภัยแล้ง (ขาดแคลนน้ำ) บ่อยครั้งหรือทุก ๆ ปี |
การเลี้ยงสัตว์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลี้ยงไว้เพื่ออะไร | การเลี้ยงสัตว์มีหลายจุดประสงค์ เช่นเลี้ยงไว้ดูเล่น เลี้ยงไว้ใช้แรงงาน เลี้ยงไว้ใช้เป็นอาหาร หรือเลี้ยงไว้เพื่อกิจกรรมพิเศษ |
ประเทศไทยได้รับประโยชน์อะไรจากพระพุทธศาสนา | ศีลธรรม วัฒนธรรม ศิลปกรรม และภาษา |
Subsets and Splits
No community queries yet
The top public SQL queries from the community will appear here once available.